ความมีวินัยนี้หมายถึงการที่แต่ละคนบังคับตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบ  หรืออยู่ในกรอบอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่นหากเรารู้ว่าเป็นคนโภแล้วจะต้องเอาความโลภออกจากความคิดของเราให้ได้  การมีวินัยนั้นคือการตั้งปณิธานต่อตนเองว่าฉันจะต้องเอาชนะความโลภที่มีให้จงได้  จะไม่ยอมให้ตนเองตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความโลภอีก  ผู้เขียนจะไม่กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคนที่มาปฏิบัติธรรมกับผู้เขียนจะต้องอยู่ในกฎหรือกรอบอย่างไร  กฎหรือกรอบจึงมีเพียงแค่รู้ว่าอะไรที่มันไม่ดีแล้วเป็นอันตรายต่อตนเองและคนอื่นให้ค่อย ๆ  เอาออกไปจากความคิดของตนเสียให้สิ้น  เนื่องจากเนื้อแท้ของการปฏิบัติมันก็ยากอยู่แล้วสำหรับคนยุคปัจจุบัน  ถ้าจะให้มีกฎหรือมีกรอบออกมาทำให้การปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้วนั้นให้ยากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก

             แต่การมีระเบียบวินัยนี้ถือว่าสำคัญยิ่ง  เช่นถ้าผู้เขชียนไม่บังคับตนให้เอาชนะข้อบกพร่องต่าง ๆ  ที่ตนมีได้  ผู้เขียนก็จะเป็นผู้ที่พ่ายแพ้ต่อกิเลสที่มายั่วยวน  ซึ่แน่นอนว่าการจะทำให้ตนมีวินัยได้นั้นไม่พ้นความกล้าหาญและอดทนอดกลั้น  เช่นในขณะที่ผู้เขียนกำลังหิวจัดอย่างมาก  มิธิวจนะให้ผู้เขียนละการกินแล้วหันไปช่วยคนอื่นที่กำลังเดือดร้อนอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงค่อยกิน  หากผู้เขียนไม่มีวินัยก็จะทำตามสัญชาติญาณคือกินให้อิ่มก่อนแล้วจึงไปทำเพื่อผู้อื่น  ผลคือผู้เขียนก็ไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างแท้จริง  การมีวินัยจึงทำให้ผู้เขียนสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองจากการเป็นคนชั่วคือการทำเพื่อตนเองและพวกพ้องมากกว่าผู้อื่นและส่วนรวม  ให้กลายเป็นคนที่ค่อย ๆ  ดีขึ้นได้  โดยการค่อย ๆ  ละการทำเพื่อส่วนตนและพวกพ้องลงแล้วหันไปทำเพื่อผู้อื่นและสังคมเพิ่มมากขึ้น
นั่นหมายความว่าคนที่ไม่มีวินัยในตนเองโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้พัฒนาไปสู่ทางที่ดีขึ้นย่อมเป็นไปได้ยาก  ซึ่งแน่นอนว่าคนที่มีความเห็นแก่ตัวอย่างผู้เขียน  ถ้าไม่ฝึกให้ตนเองมีวินัย  คือทำทุกอย่างให้ได้มากที่สุดตามที่จะมีอธิวจนะจะเข้ามาๆม่ว่าอธิวจนะจะมาจากเทพพระองค์ใดก็ตาม  ในช่วงแรก ๆ  ผู้เขียนก็มีความอึดอัดแล้วเกิดคำถามในเชิงต่อต้านว่าทำไมต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ด้วยจะอยู่สบาย ๆ  ไม่ได้หรือ  แต่พอผู้เขียนฝึกตนเองแล้วผ่านจุดนั้นมาได้ทำให้ผู้เขียนเรียนรู้คุณค่าของการมีวินัย  แล้วเข้าใจว่าที่แท้การที่จะต้องทำตามอธิวจนะนั้นคือการทำให้ตนอยู่ในกรอบหรือวินัย  แล้วทำให้ผู้เขียนรู้จักเคารพกฎระเบียบอื่น ๆ  ที่กฎระเบียบนั้นเป็นธรรมมากขึ้นกว่าเดิม
แล้วที่แน่ ๆ  การฝึกให้ตนเองมีระเบียบวินัยทำให้ผุ้เขียนสามารถทำลายความเห็นแก่ตัวให้ค่อย ๆ  ลดน้อยถอยลงจนค่อย ๆ  หมดสิ้นไปได้ด้วย  หากผู้เขียนไม่สวามารถทำตามอธิวจนะที่เข้ามาได้  ผู้เขียนก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอาชนะความเห็นแก่ตัวที่ตนมีนั้นได้หรือไม่  เพราะการทำอะไรให้ได้ตามอธิวจนะคือการทำอะไรที่ฝืนความรู้สึกของตนอย่างมาก  ช่วงแรก ๆ  จะอึดอัดมากแสดงว่าผู้เขียนยังนึกถึงตนเองหรือมีความเห็นแก่ตัวมาก  แต่เมื่อมีอธิวจนะเข้ามานับร้อย ๆ  เรื่อง  แล้วผู้เขียนมีความพยายามทำตามอธิวจนะนั้นด้วยความเพียร  แล้วรู้สึกว่าการทำตามอธิวจนะนั้นอึดอัดน้อยลงแสดงว่าผู้เขียนสามารถลดความเห็นแก่ตัวลงได้  แล้วท้ายที่สุดสามารถทำทุกอย่างได้ตามอธิวจนะที่เข้ามา  เมื่อผู้เขียนทำไปแล้วไม่รู้สึกฝืนอีกทั้งทำไปแล้วกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขขึ้นในตน  ผู้เขียนก็สามารถเปลี่ยนจากคนชั่วให้กบลายเป็นคนดีได้ในที่สุด
            ประสบการณ์หลาย ๆ  ประสบการณ์ที่ผ่านมาจึงต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดไม่ว่าจะเจ็บใจหรือเจ็บกายก็ตาม  ผู้ที่ไม่ยอมเจ็บจึงถือว่าไม่มีประสบการณ์  แล้วผู้ที่ไม่ยอมเจ็บแต่ชีวิตนี้มีโอกาสพบปะผู้คตนมากจึงมิใช่ผู้มีประสบการณ์ด้วย  เพราะถ้าไม่เจ็บจนหายเจ็บจากการเจ็บนั้นเสียก่อน  ไม่ว่าจะเจ็บด้วยเหตุอะไรก็ตาม  ผู้นั้นจะไม่มีทางเข้าใจและประจักษ์แจ้งในประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้เลย  มาถึงตรงนี้แล้วเมื่อผู้เขียนเจ็บมาแล้วกับความรู้สึกต่าง ๆ  ทั้งเสียใจก็ทำให้เจ็บความน้อยใจก็ทำให้เจ็บ  ความทรมานร่างกาย  สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่จะทำให้ใครก็ตามที่เผชิญสิ่งเหล่านี้มามาก  แต่แค่นี้ไม่ถือว่ามีประสบการณ์  ต้องตามด้วยรู้ว่าสาเหตุที่ทำให้ตนได้รับทุกข์เช่นนั้นเกิดจากอะไรแล้วจะเอาความทุกข์นั้นออกจากตนได้อย่างไร  แล้วคำตอบที่ได้คือกล้าหาญ  อดทน  อดกลั้น  ไม่เข้าข้างตนเองอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น  จึงจะถือว่ามีประสบการณ์อย่างแท้จริง