วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ



ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ



           
             ประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดยโสธร ที่มีมาแต่ครั้งไหน
ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน  แต่คนในสมัยโบราณได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความ
เป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟในมุมมองต่างๆ ไว้ดังนี้
มุมมองทางด้านความเชื่อ
       ชาวบ้านในสมัยก่อนเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ และโลกเทวดา  จึงคิดว่ามนุษย์อยู่ภายใต้
อิทธิพลของเทวดา  ซึ่งมีการรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา 
 และเรียกเทวดาว่า  “แถน”  เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า  ฝน  ฟ้า  ลม  เป็นอิทธิพลของแถน
 หากทำให้แถนโปรดปราน  มนุษย์ก็จะมีความสุข  ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน  ซึ่งการจุดบั้งไฟก็
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน  ชาวอีสานจำนวนมาก
เชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน  และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป 
 แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน
 มุมมองในความหมายของบั้งไฟ
              คำว่า  “บั้งไฟ”  ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า  “บ้องไฟ” 
 แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า “บั้งไฟ”  ซึ่งคำว่า บั้ง หมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง
  สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น  ส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใด ๆ ก็ได้
 ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้าด้วยกันได้  ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง  ส่วนในหรือสิ่งที่เอา
ไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย  ดังนั้น 
คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงหมายถึง ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง  มีหางยาวเอาดินประสิวม
คั่วกับถ่านไม้  ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื้อ (ดินปืน) และเอาหมื้อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่  
ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ  เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอก  แล้วใส่หมื้อโดยรอบ 
 เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาวสำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า “บั้งไฟ”
มุมมองทางศาสนาพราหมณ์
            เป็นการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟ  ถือว่าเป็นการบูชาเทพเจ้าที่อยู่บนสวรรค์  ดังนั้น
 การจุดบั้งไฟ  จึงเป็นการละเล่นอีกอย่างหนึ่งและเป็นการบูชาเทพเจ้า  
เพื่อให้พระองค์บันดาลในสิ่งที่ตนต้องการ
มุมมองทางศาสนาพุทธ
เป็นการฉลอง และ บูชาในวันวิสาขบูชา  ซึ่งมีการทำดอกไม้ไฟในแบบต่าง ๆ 
 ทั้งไฟน้ำมัน ไฟธูปเทียน และดินประสิว  ในงานนี้มีการรักษาศีล การให้ทาน การบวชนาค 
 การอัดทรง และนิมนต์พระมาเทศน์อานิสงฆ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น